วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

อุกกาบาต

           วันนี้กลับมาแล้วค่ะ  พร้อมกับสัญญาที่จะมาลงความรู้เรื่องอุกกาบาต  ไปชมกันดีกว่าเนอะ 
                   อุกกาบาต คือ วัตถุขนาดเล็กในอวกาศที่ผ่านบรรยากาศลงมาถึงพื้นโลก ขณะอยู่ในอวกาศเรียกว่า "สะเก็ดดาว" ขณะเข้าสู่บรรยากาศเรียกว่า "ดาวตก" เราสามารถพบอุกกาบาตได้บนดาวเคราะห์ดวงอื่น เช่น ดาวอังคาร อุกกาบาตประกอบไปด้วยธาตุคาร์บอน ปะปนอยู่ในอุกกาบาตบางชนิดเท่านั้น ซึ่งจะเป็นชนิดเหล็กและนิกเกิล
              เราอาจเห็นแสงวูบวาบตกลงมาจากฟากฟ้า  เรียกกันว่า  ดาวตกหรือผีพุ่งไต้แต่ความจริงดาวตกเป็นวัตถุแข็งจำพวกหินหรือเหล็กตกเข้าสู่เขตบรรยากาศโลกด้วยความเร็วหลายร้อยกิโลเมตรต่อชั่วโมงแรงเสียดสีกับบรรยากาศทำให้ร้อนจัดหลอมตัวเป็นลูกไฟสว่าง  มีควันเป็นทางยาว หากวัตถุชิ้นเล็กจะลุกไหม้สว่างกลายเป็นไอสลายไป หมด แต่บางก้อนที่มีขนาดใหญ่จะมีเสียงดังคล้ายเสียงยิงปืนหรือเสียงฟ้าผ่าเมื่อวิ่งผ่านอากาศตกลงมา และหากสลายตัวไม่หมด มักเหลือซากตกลงถึงพื้นโลก เรียกว่า ลูกอุกกาบาต มีขนาดเล็กใหญ่แตกต่างกัน ตั้งแต่น้ำหนักเพียงไม่กี่กรัมจนถึงก้อนหนึ่งหนักหลาย ๆ ตัน 

          อุกกาบาตแบ่งตามลักษณะเนื้อในเป็น 3 แบบ คือ อุกกาบาต ชนิด หิน เหล็ก และ เหล็กปนหิน ส่วนใหญ่ ที่พบเป็นอุกกาบาต ชนิดหิน ก้อนใหญ่ที่สุดในโลก ชื่อ จีหลิง (Jiling) ตกที่อำเภอจีหลิง ประเทศจีน เมื่อ 8 มีนาคม 2519 หนักเกือบ 2,000 กิโลกรัม ส่วนอุกกาบาตชนิดเหล็ก ก้อนใหญ่สุดที่ค้นพบคือ โฮบา เวสท์ (Hoba West) ปริมาตรราว 9 ลูกบาศก์เมตร หนักประมาณ 66 ตัน  ตกกลางป่า ในอัฟริกาตะวันออกเฉียงใต้ 

           อุกกาบาตชนิดหินส่วนใหญ่มีลักษณะเหมือนหินบนโลก และมักสลายตัวเพราะลมฟ้าอากาศ ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นที่จะบอกได้ว่าเป็นลูกอุกกาบาต การวิเคราะห์ทำได้โดยตัดผิวอุกกาบาตให้เรียบ ขัดมันแล้วใช้กรดอย่างอ่อนกัด พบโครงสร้างรูปผลึกปรากฏเห็นชัดบนผิวเรียบนั้น ซึ่งเป็นลักษณะ เฉพาะตัวของอุกกาบาต

          อุกกาบาตขนาดใหญ่ที่พุ่งชนโลกอย่างแรง ทำให้เกิดหลุมลึกบนพื้นโลกเรียกว่า เครเตอร์ หลุมอุกกาบาตใหญ่ที่สุดบนโลก คือ หลุมแบริงเยอร์ ในรัฐอะริโซนา สหรัฐอเมริกา คาดว่า เกิดจากอุกกาบาตชนิดเหล็กหนักถึง 1 ล้านตัน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 30 เมตร ตกกระแทก พื้นโลกเป็นหลุมมหึมา ปากหลุมกว้าง 1,200 เมตร ลึก 170 เมตร ความลึกเท่ากับตึกสูง 40 ชั้นทีเดียว หลุมแบริงเยอร์อายุประมาณ 22,000 ปี

                         

อุกกาบาตตกในประเทศไทย

- ลูกอุกกาบาตนครปฐม ตกที่ตำบลดอนยายหอม เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2466 แตกเป็น 2ก้อนใหญ่ น้ำหนักรวม 32 กิโลกรัม เป็นอุกกาบาตชนิดเนื้อหิน ตั้งแสดงอยู่ที่ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ 

- ลูกอุกกาบาตเชียงคาน ตกที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2524 เป็นอุกกาบาตชนิดเนื้อหิน สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวัตถุจากกระแสธารอุกกาบาต ที่เป็นซากเหลือจาก ดาวหางเทมเพล (Tempel ) ที่โลกโคจรตัดผ่านธารอุกกาบาตในช่วงนั้น เป็นประจำทุกปี จึงทำให้เกิดเป็น ฝนดาวตก หรือ ฝนอุกกาบาต ให้เห็นในระยะนั้น มีสมมุติฐานอธิบายกำเนิดของอุกกาบาต ว่าน่าจะมาจากแถบของดาวเคราะห์น้อยที่อยู่ระหว่าง วงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี หรืออาจ มาจากดาวหางที่โคจรอยู่ในระบบสุริยะ นอกจากนั้นยังพบอุกกาบาตบางก้อนมีองค์ประกอบ เช่นเดียวกับหินจากดวงจันทร์และหินจาก ดาวอังคารด้วย

        อุกกาบาตเป็นวัตถุฟากฟ้าที่สำคัญยิ่งในทางดาราศาสตร์ เพราะนอกจากโลกของเราแล้ว อุกกาบาตเป็นสมาชิกในระบบ สุริยะที่ตกผ่านเข้ามาบนโลกให้มนุษย์ได้มีโอกาสจับต้อง และศึกษาค้นคว้าได้โดยตรง 

          การตรวจสอบพบว่าลูกอุกกาบาตส่วนใหญ่ประกอบด้วยเหล็ก นิเกิล และแร่ธาตุที่ตรวจพบได้
บนโลก จึงสรุปได้ว่าสมาชิก ของระบบสุริยะทั้งปวงประกอบขึ้นจากวัตถุชนิดเดียวกัน
และเมื่อสืบค้นถึงอายุของลูกอุกกาบาต โดยการตรวจสารกัมมันตรังสี พบว่าลูกอุกกาบาต มีอายุเก่าแก่พอ ๆ กับอายุของโลก

       การศึกษาลูกอุกกาบาตจึงจะช่วยให้มนุษย์ได้สืบค้นถึงประวัติความเป็นมาของโลก ดาวเคราะห์ ดวงพิเศษสุดที่เราถือกำเนิดและอาศัยกันอยู่ทุกวันนี้ได้ดีขึ้น
                                    

วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

ดาวเคราะห์แคระในระบบสุริยะ

                กลับมาแล้วค่ะทุกคน  คงรอความรู้กันอยู่ใช่ไหมเอ่ย  วันนี้จะเอาความรู้เรื่องดามเคราะห์แคระในระบบสุริยะมาฝากกันดีกว่าเนอะ  ไปเริ่มกันเลยค่ะ
ดาวเคราะห์แคระ เป็นดาวชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายดาวเคราะห์ ตามการจำแนกชนิดดาวเคราะห์ที่เสนอโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (International Astronomical Union :IAU) เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549
นิยามของดาวเคราะห์แคระ
-  อยู่ในวงโคจรรอบดาวฤกษ์ แต่ตัวมันเองไม่ใช่ดาวฤกษ์
-  มีมวลพอเพียงที่จะมีแรงโน้มถ่วงของตัวเอง เพื่อเอาชนะแรง rigid body forces ทำให้รูปทรงมีสมดุลไฮโดรสแตติก (เกือบเป็นทรงกลมสมบูรณ์)
-  ไม่สามารถควบคุมแรงดึงดูดและวงโคจรของสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบวงโคจรของมัน
-  ไม่ใช่ดวงจันทร์บริวาร
                นิยามได้เสนอขึ้น 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ที่ประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก ทำให้ดาวพลูโตกลายเป็นดาวเคราะห์แคระ หลังจากเคยยอมรับว่าเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะ ทั้งนี้เพราะไม่สามารถควบคุมแรงดึงดูดและวงโคจรของสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบวงโคจรของมันได้
จนถึงปัจจุบัน มีวัตถุบนท้องฟ้าที่จัดเป็นดาวเคราะห์แคระ  ได้แก่
ดาวพลูโต  เป็นดาวเคราะห์แคระในระบบสุริยะ อยู่นอกวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ในบริเวณแถบไคเปอร์ มีขนาดเล็กกว่า ดาวบริวาร 7 ดวงในระบบสุริยะ   ดาวพลูโตมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2,390 กิโลเมตร มีดาวบริวาร 5 ดวง ได้แก่ แครอน  นิกซ์ ไฮดรา  เคอร์เบอรอส  และ สติกซ์ 
พลูโตเป็นเทพเจ้าแห่งเมืองบาดาลในเทพนิยายโรมัน หรือที่ในเทพนิยายกรีกเรียกว่าเฮดีส สันนิษฐานว่าสาเหตุหนึ่งที่ตั้งชื่อดาวดวงนี้ว่า พลูโต ก็เพื่อให้มีตัวอักษร "P-L" ในชื่อ เพื่อเป็นเกียรติแก่เปอร์ซิวัล โลเวลล์ ในภาษาไทยอาจเรียกพลูโตว่า ดาวยม หมายถึง ยมโลก หรือ นรก ซึ่งก็มีความหมายพ้องกับชื่อพลูโตหรือเฮดีสในเทวตำนานตะวันตก
                                          ภาพจากกล้องฮับเบิล: พลูโตและแครอน
ซีรีส หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า 1 ซีรีส เป็นดาวเคราะห์น้อยดวงใหญ่ที่สุดและเป็นดาวเคราะห์แคระดวงเดียวในระบบสุริยะชั้นใน  เป็นดาวเคราะห์น้อยดวงแรกที่ถูกค้นพบ โดยจูเซปเป ปีอาซซี นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1801   ตั้งตามชื่อซีรีส เทพีโรมันแห่งการปลูกพืช เก็บเกี่ยวและความรักอย่างมารดา
ซีรีสมีเส้นผ่าศูนย์กลางราว 950 กิโลเมตรและประกอบด้วยมวลหนึ่งในสามของมวลทั้งหมดในแถบดาวเคราะห์น้อย พื้นผิวซีรีสอาจเป็นส่วนผสมของน้ำแข็งและธาตุที่ถูกไฮเดรต เช่น คาร์บอเนตและดินเหนียว ซีรีสจำแนกเป็นแก่นหินและแมนเทิลน้ำแข็ง และอาจมีมหาสมุทรน้ำในสถานะของเหลวกักเก็บไว้ใต้พื้นผิว
จากโลก โชติมาตรปรากฏของซีรีสอยู่ระหว่าง 6.7 ถึง 9.3 ดังนั้นแม้ในช่วงสว่างที่สุดก็ไม่อาจเห็นได้ด้วยตาเปล่า ยกเว้นท้องฟ้าที่มืดอย่างยิ่ง  วันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 2007 นาซาส่งยานสำรวจอวกาศดวอ์นไปสำรวจเวสตา (2011-2012) และซีรีส (2015)
                            Ceres optimized.jpg
อีริส (Eris) เป็นดาวเคราะห์แคระหนึ่งในวัตถุพ้นดาวเนปจูน  เป็นดาวเคราะห์แคระดวงใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะที่ถูกค้นพบในปัจจุบัน มีขนาดใหญ่กว่าดาวพลูโต มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2,400 กิโลเมตร มีดวงจันทร์บริวาร 1 ดวง ชื่อ ดิสโนเมีย
อีริสถูกค้นพบโดย ไมเคิล อี. บราวน์และคณะ เมื่อวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 2005 จากภาพที่ถ่ายไว้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 2003 ด้วยกล้องโทรทรรศน์ของหอดูดาวพาโลมาร์ รัฐแคลิฟอร์เนีย คณะผู้ค้นพบได้เสนอให้ตั้งชื่อดาวที่พบใหม่นี้ว่า ซีนา (Xena) ตามชื่อของละครโทรทัศน์ Xena: Warrior Princess โดยตัวอักษร X หมายถึง ดาวเคราะห์ X ที่เปอร์ซิวัล โลเวลล์ เคยเสนอไว้ และให้ดวงจันทร์บริวารของมันใช้ชื่อว่า แกเบรียลล์ (Gabrielle) แต่ไม่ได้มีการประกาศใช้ชื่อนี้อย่างเป็นทางการ
ภายหลังการค้นพบ คณะผู้ค้นพบและนาซาได้ประกาศว่าอีริสเป็น ดาวเคราะห์ดวงที่ 10 แต่จากการประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ได้ข้อสรุปว่าอีริสไม่จัดเป็นดาวเคราะห์ แต่เป็นดาวเคราะห์แคระ
ชื่อ อีริส มาจากชื่อของเทพเจ้าแห่งความวุ่นวาย ผู้วางอุบายโดยใช้แอปเปิลทองคำ เพื่อทำให้เฮรา อาเทนา และอะโฟรไดต์ ซึ่งเป็นสามเทวีพรหมจรรย์ในบรรดาเทพแห่งโอลิมปัสแตกคอกัน เพราะว่าไม่ได้เชิญนางมางานเลี้ยงของเทพ ส่วน ดิสโนเมีย คือชื่อธิดาของอีริส
                                 2003 UB313 photos single.jpg
เฮาเมอา (อังกฤษHaumeaIPA) มีชื่อเดิมว่า  เฮาเมอา เป็นดาวเคราะห์แคระดวงหนึ่งในแถบไคเปอร์ มีมวลขนาดหนึ่งในสามของดาวพลูโต ถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2547 โดยไมเคิล อี. บราวน์ (Michael E. Brown) และทีมค้นหาจากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (แคลเทค) และหอดูดาวเมานาเคอาในสหรัฐอเมริกา และในปี พ.ศ. 2548 โดยโคเซ ลุยส์ ออร์ติซ โมเรโน (José Luis Ortiz Moreno) และทีมค้นหาจากหอดูดาวเซียร์ราเนบาดาในประเทศสเปน (แต่การอ้างว่าเป็นผู้ค้นพบของฝ่ายหลังถูกโต้แย้ง) ในวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2551 สหภาพดาราศาสตร์นานาชาติได้จัดดาวดวงนี้ให้อยู่ในกลุ่มของดาวเคราะห์แคระ และตั้งชื่อตามเฮาเมอา เทพีแห่งการให้กำเนิดของชาวฮาวาย
                                2003EL61art.jpg
มาคีมาคี (อังกฤษMakemake/ˌmɑːkiːˈmɑːkiː/ภาษาราปานุยมาเกมาเก [ˈmakeˈmake]) มีชื่อเดิมว่า (136472) มาคีมาคี เป็นดาวเคราะห์แคระที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ในระบบสุริยะ (เท่าที่ค้นพบแล้วในขณะนี้) และเป็นหนึ่งในสองวัตถุที่ใหญ่ที่สุดของแถบไคเปอร์ (KBO) ซึ่งอยู่ในหมู่วัตถุชั้นเอกของแถบไคเปอร์ ดาวมาคีมาคีมีเส้นผ่านศูนย์กลางสามในสี่ของดาวพลูโต ไม่มีดวงจันทร์บริวาร ซึ่งแปลกจากวัตถุขนาดใหญ่อื่น ๆ แถบไคเปอร์ด้วยกัน อุณหภูมิเฉลี่ยที่ต่ำมากของดาวดวงนี้ (ประมาณ 30 เคลวิน) แสดงให้เห็นว่าพื้นผิวของมันถูกปกคลุมด้วยมีเทน อีเทน และอาจจะมีไนโตรเจนแข็งด้วย
                               2005FY9art.jpg
หวังว่าทุกคนคงจะถูกใจนะคะ  พรุ่งนี้อยากลงเรื่องอุกกาบาตอ่ะ  แต่ถ้ามีใครคอมเม้นต้องการเรื่องอะไรก็คอมเม้นมาได้เนอะ  แต่ต้องเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับกาแล็กซี่ของเรานะ  เดี๋ยวจะเอามาลงให้ตามคำขอเลย  แล้วพรุ่งนี้เจอกันค่ะ

         

วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2557

ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ

วันนี้สัญญาไว้ว่าจะเอาความรู้เรื่องดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ  ซึ่งเป็นบริวารของดวงอาทิต์มาฝากกันค่ะ  และก็มีวิดิโอเพื่อเพิ่มความเข้าใจให้มากขึ้นด้วยนะคะ
ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด และเป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดในระบบสุริยะ ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 87.969 วัน ดาวพุธมักปรากฏใกล้ หรืออยู่ภายใต้แสงจ้าของดวงอาทิตย์ทำให้สังเกตเห็นได้ยาก ดาวพุธไม่มีดาวบริวาร ยานอวกาศเพียงลำเดียวที่เคยสำรวจดาวพุธในระยะใกล้คือยานมาริเนอร์ 10เมื่อปี พ.ศ. 2517-2518 (ค.ศ. 1974-1975) และสามารถทำแผนที่พื้นผิวดาวพุธได้เพียง 40-45% เท่านั้น
ดาวพุธมีสภาพพื้นผิวขรุขระเนื่องจากการพุ่งชนของอุกกาบาต ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวารและไม่มีแรงโน้มถ่วงมากพอที่จะสร้างชั้นบรรยากาศ ดาวพุธมีแกนกลางเป็นเหล็กขนาดใหญ่ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กความเข้มประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ของสนามแม่เหล็กโลกล้อมรอบดาวพุธไว้
ชื่อละตินของดาวพุธ (Mercury) มาจากคำเต็มว่า Mercurius เทพนำสารของพระเจ้า สัญลักษณ์แทนดาวพุธ คือ  เป็นรูปคทาของเทพเจ้าเมอคิวรี ก่อนศตวรรษที่ 5 ดาวพุธมีสองชื่อ คือ เฮอร์เมส เมื่อปรากฏในเวลาหัวค่ำ และอพอลโล เมื่อปรากฏในเวลาเช้ามืด เชื่อว่าพีทาโกรัสเป็นคนแรกที่ระบุว่าทั้งสองเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวกัน   
                           
ดาวศุกร์ (อังกฤษVenus) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 ชื่อละตินของดาวศุกร์ (Venus) มาจากเทพีแห่งความรักของโรมันดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์หิน มีขนาดใกล้เคียงกับโลก บางครั้งเรียกว่า "น้องสาว" ของโลก แม้ว่าวงโคจรของดาวเคราะห์ทุกดวงจะเป็นวงรี วงโคจรของดาวศุกร์จัดว่าเกือบเป็นวงกลม มีความเยื้องศูนย์กลาง (ความรี) น้อยที่สุด
สำหรับวัตถุในธรรมชาติ ดาวศุกร์เป็นวัตถุท้องฟ้าที่สว่างที่สุดเป็นลำดับที่ 3 รองจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ เนื่องจากดาวศุกร์มีวงโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก จึงมีมุมห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 47.8° มองเห็นได้เฉพาะในเวลาเช้ามืดหรือหัวค่ำเท่านั้น ขณะปรากฏในท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก เรียกว่า "ดาวประจำเมือง" และเมื่อปรากฏในท้องฟ้าเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออก เรียกว่า "ดาวประกายพรึก" หรือ "ดาวรุ่ง"
                                Venuspioneeruv.jpg
โลก เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่สาม โดยโลกเป็นดาวเคราะห์หินขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ และเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ยืนยันได้ว่ามีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ดาวเคราะห์โลกถือกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ 4,570 ล้าน (4.57×109ปีก่อน และหลังจากนั้นไม่นานนัก ดวงจันทร์ซึ่งเป็นดาวบริวารเพียงดวงเดียวของโลกก็ถือกำเนิดตามมา สิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาที่ครองโลกในปัจจุบันนี้คือมนุษย์
โลก มีลักษณะเป็นทรงวงรี โดย ในแนวดิ่งเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 12,711 กม. ในแนวนอน ยาว 12,755 กม. ต่างกัน 44 กม. มีพื้นน้ำ 3 ส่วน หรือ 71% และมีพื้นดิน 1 ส่วน หรือ 29 % แกนโลกเอียงประมาณ 23.4 องศา
สัญลักษณ์ของโลกประกอบด้วยกากบาทที่ล้อมด้วยวงกลม โดยเส้นตั้งและเส้นนอนของกากบาทจะแทนเส้นเมอริเดียนและเส้นศูนย์สูตรตามลำดับ สัญลักษณ์อีกแบบของโลกจะวางกากบาทไว้เหนือวงกลมแทน (ยูนิโคด: ⊕ หรือ )
                                     ภาพถ่ายสีของโลกจากยานอะพอลโล 17
ดาวอังคาร เป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 4 ชื่อละตินของดาวอังคาร (Mars) มาจากชื่อเทพเจ้าแห่งสงครามของโรมันหรือตรงกับเทพเจ้า Ares ของกรีก เป็นเพราะดาวอังคารปรากฏเป็นสีแดงคล้ายสีโลหิต บางครั้งจึงเรียกว่า "ดาวแดง" หรือ "Red Planet" ( สัญลักษณ์แทนดาวอังคาร คือ ♂ เป็นโล่และหอกของเทพเจ้ามาร์ส ดาวอังคารมีดาวบริวารหรือดวงจันทร์ขนาดเล็ก 2 ดวง คือ โฟบอสและไดมอส โดยทั้งสองดวงมีรูปร่างบิดเบี้ยวไม่เป็นรูปกลม ซึ่งคาดกันว่าอาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่หลงเข้ามาแล้วดาวอังคารคว้าดึงเอาไว้ให้อยู่ในเขตแรงดึงดูดของตน
ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หิน (terrestrial planet) มีชั้นบรรยากาศเบาบาง พื้นผิวมีลักษณะคล้ายคลึงทั้งหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ และภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย และบริเวณน้ำแข็งขั้วโลก บนโลก ดาวอังคารมีภูเขาที่สูงที่สุดในระบบสุริยะคือ ภูเขาไฟโอลิมปัส (Olympus Mons) และหุบเขาลึกที่มีชื่อว่า มาริเนริส (Marineris) ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2008 มีบทความ 3 บทความตีพิมพ์ลงในนิตรสาร "Nature" เกี่ยวกับหลักฐานของหลุมอุกกาบาตที่ใหญ่มหึมา โดยมีความกว้าง 8,500 กิโลเมตร ยาว 10,600 กิโลเมตร  นอกจากนั้นสิ่งที่ดาวอังคารมีและคล้ายคลึงกับโลกก็คือคาบการหมุนรอบตัวเองและฤดูกาล
ดาวอังคารสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีค่าความส่องสว่างปรากฏอยู่ที่ระหว่าง -2.0 – 2.0 มีเพียงแค่ดาวศุกร์ ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ที่สว่างกว่า (ดาวพฤหัสในบางครั้ง)
                               Mars Valles Marineris.jpeg
ดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 5 และเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ  ชื่อละตินของดาวพฤหัสบดี (Jupiter) มาจากเทพเจ้าโรมัน สัญลักษณ์แทนดาวพฤหัสบดี คือ  เป็นสายฟ้าของเทพเจ้าซุส
ดาวพฤหัสบดีมีมวลสูงกว่ามวลของดาวเคราะห์อื่นรวมกันราว 2.5 เท่า ทำให้ศูนย์ระบบมวลระหว่างดาวพฤหัสบดีกับดวงอาทิตย์ อยู่เหนือผิวดวงอาทิตย์  ดาวพฤหัสบดีหนักว่าโลก 318 เท่า เส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่าโลก 11 เท่า และมีปริมาตรคิดเป็น 1,300 เท่าของโลก เชื่อกันว่าหากดาวพฤหัสบดีมีมวลมากกว่านี้สัก 60-70 เท่า อาจเพียงพอที่จะให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์จนกลายเป็นดาวฤกษ์ได้
ดาวพฤหัสบดีหมุนรอบตัวเองด้วยอัตราเร็วสูงที่สุด เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์ดวงอื่นในระบบสุริยะ ทำให้มีรูปร่างแป้นเมื่อดูผ่านกล้องโทรทรรศน์ นอกจากชั้นเมฆที่ห่อหุ้มดาวพฤหัสบดี ร่องรอยที่เด่นชัดที่สุดบนดาวพฤหัสบดี คือ จุดแดงใหญ่ ซึ่งเป็นพายุหมุนที่มีขนาดใหญ่กว่าโลก
                             Jupiter by Cassini-Huygens.jpg
ดาวเสาร์ (อังกฤษSaturn) เป็นตัวแทนของเทพแซทเทิร์น (Saturn) เทพแห่งการเพาะปลูกในตำนานของชาวโรมัน ส่วนในตำนานกรีกมีชื่อว่า โครนอส(Cronos)  โดยดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 6 ที่ระยะทาง 1,433 ล้านกิโลเมตร จัดเป็นดาวเคราะห์แก๊ส มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในระบบสุริยะรองจากดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์มีวงแหวนขนาดใหญ่ ที่ประกอบขึ้นจากก้อนหินที่มีน้ำแข็งปะปน สัญลักษณ์แทนดาวเสาร์ คือ ♄
ดาวเสาร์มีรูปร่างป่องออก ที่เรียกว่าทรงกลมแป้น (oblate spheroid) เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวขั้วสั้นกว่าตามแนวเส้นศูนย์สูตรเกือบ 10% เป็นผลจากการหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็ว ดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ก็มีลักษณะเป็นทรงกลมแป้นเช่นกัน แต่ไม่มากเท่าดาวเสาร์ ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะ ที่มีความหนาแน่นเฉลี่ยน้อยกว่าน้ำ (0.70 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร)  บรรยากาศชั้นบนของดาวเสาร์มีความหนาแน่นน้อยกว่านี้ ขณะที่ที่แกนมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ วงแหวนของดาวเสาร์ประกอบไปด้วย เศษหินและน้ำแข็งขนาดเล็ก เรียงตัวอยู่ในระนาบเดียวกัน และวงแหวนของดาวเสาร์ก็ประกอบไปด้วย วงแหวนย่อยๆมากมาย ความจริงแล้ววงแหวนดาวเสาร์นั้นบางมาก โดยมีความหนาเฉลี่ยเพียง 500 กิโลเมตรเท่านั้น แต่เศษวัตถุในวงแหวนมีความสามารถในการสะท้อนแสงดี และกว้างกว่า 80,000 กิโลเมตร จึงสามารถสังเกตได้จากโลก
                             Saturn during Equinox.jpg
ดาวยูเรนัส (หรือ มฤตยู) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 7 ในระบบสุริยะ จัดเป็นดาวเคราะห์แก๊ส มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3. ตั้งชื่อตามเทพเจ้า Ouranos ของกรีก สัญลักษณ์แทนดาวยูเรนัส คือ Uranus symbol.ant.png หรือ สัญลักษณ์ดาราศาสตร์ดาวยูเรนัส (ส่วนใหญ่ใช้ในดาราศาสตร์) ชื่อไทยของยูเรนัส คือ ดาวมฤตยู
ผู้ค้นพบดาวยูเรนัส คือ เซอร์วิลเลียม เฮอร์เชล(Sir William Herschel) พบในปี พ.ศ. 2324 (ค.ศ. 1781)
ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) นักดาราศาสตร์จากหอดูดาวไคเปอร์แอร์บอร์น (James L. Elliot, Edward W. Dunham, and Douglas J. Mink using the Kuiper Airborne Observatory) ค้นพบว่า ดาวยูเรนัสมี วงแหวนจางๆโดยรอบ
และเราก็ได้เห็นรายละเอียด ของดาวยูเรนัสพร้อมทั้งวงแหวน และดวงจันทร์บริวารในปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) เมื่อยานวอยเอเจอร์ 2 (Voyager 2) เคลื่อนผ่าน
                              
ดาวเนปจูน (อังกฤษNeptune) หรือชื่อไทยว่า ดาวสมุทร  หรือ ดาวเกตุ คือดาวเคราะห์ในระบบสุริยะลำดับสุดท้ายที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ (ขึ้นอยู่กับการโคจรของดาวพลูโต ซึ่งบางครั้งจะเข้ามาอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่า แต่ปัจจุบันดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์แคระแล้ว) ตัวดาวมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่เป็นอันดับที่ 4 รองจากดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และมีมวลเป็นลำดับที่ 3 รองจากดาวพฤหัสและดาวเสาร์ คำว่า "เนปจูน" นั้นตั้งชื่อตามเทพเจ้าแห่งท้องทะเลของโรมัน (กรีก : พไซดอน) มีสัญลักษณ์เป็น (♆)
ดาวเนปจูนมีสีน้ำเงิน เนื่องจากองค์ประกอบหลักของบรรยากาศผิวนอกเป็น ไฮโดรเจน ฮีเลียม และมีเทน บรรยากาศของดาวเนปจูน มีกระแสลมที่รุนแรง (2500 กม/ชม.) อุณหภูมิพื้นผิวอยู่ที่ประมาณ -220℃ (-364 °F) ซึ่งหนาวเย็นมาก เนื่องจาก ดาวเนปจูนอยู่ไกลดวงอาทิตย์มาก แต่แกนกลางภายในของดาวเนปจูน ประกอบด้วยหินและก๊าซร้อน อุณหภูมิประมาณ 7,000℃ (12,632 °F) ซึ่งร้อนกว่าพื้นผิวของดวงอาทิตย์เสียอีก
ยานวอยเอเจอร์ 2 เป็นยานอวกาศจากโลกเพียงลำเดียวเท่านั้น ที่เคยเดินทางไปถึงดาวเนปจูนเมื่อ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) ภาพของดาวเนปจูนซึ่งได้ถ่ายลักษณะของดาวมาแสดงให้เราเห็นจุดดำใหญ่ (คล้ายจุดแดงใหญ่ ของดาวพฤหัส) อยู่ค่อนมาทางซีกใต้ของดาว มีวงแหวนบางๆสีเข้มอยู่โดยรอบ (วงแหวนของดาวเนปจูน ค้นพบก่อนหน้านั้น โดย เอ็ดเวิร์ด กิแนน (Edward Guinan)
ดาวเนปจูนมีดวงจันทร์บริวาร 8 หรือ 14 ดวง และดวงใหญ่มากที่สุดมีชื่อว่า ไทรทัน ส่วนดวงเล็กมากที่สุดมีชื่อว่า S/2004 N 1
                             
วันนี้ความรู้แน่นอีกแล้ว  ถ้าอ่านจบแล้ว  เราไปดูวิดิโอกันดีกว่าเนอะ  ^^
              
วิดิโอสนุกและได้ความรู้มากเลยใช่ไหมล่ะคะ  พรุ่งนี้จะมาลงความรู้เรื่องอะไรมาลุ้นกันดีกว่าเนอะ
สำหรับคนที่ยังไม่รู้นะคะ  ขอแจ้งสักหน่อย  คือ  บล็อกนี้นะคะ  ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวของกาแล็กซี่  และก็ได้นำความรู้มาลงเรื่อยๆ  เพราะฉะนั้นสามารถรับชมได้จากด้านข้างจะเห็นว่ามีหัวข้อต่างๆให้เลือกอ่านได้  ลองอ่านกันดูเยอะๆนะคะ  ความรู้มีไม่สิ้นสุดอยู่แล้ว  ^^
#SECRET  OF  GALAXY