วันนี้สัญญาไว้ว่าจะเอาความรู้เรื่องดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ซึ่งเป็นบริวารของดวงอาทิต์มาฝากกันค่ะ และก็มีวิดิโอเพื่อเพิ่มความเข้าใจให้มากขึ้นด้วยนะคะ
ดาวพุธ เป็น ดาวเคราะห์ ที่อยู่ใกล้ ดวงอาทิตย์ มากที่สุด และเป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดใน ระบบสุริยะ ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 87.969 วัน ดาวพุธมักปรากฏใกล้ หรืออยู่ภายใต้แสงจ้าของดวงอาทิตย์ทำให้สังเกตเห็นได้ยาก ดาวพุธไม่มี ดาวบริวาร ยานอวกาศ เพียงลำเดียวที่เคยสำรวจดาวพุธในระยะใกล้คือ ยานมาริเนอร์ 10 เมื่อปี พ.ศ. 2517 - 2518 (ค.ศ. 1974-1975) และสามารถทำแผนที่พื้นผิวดาวพุธได้เพียง 40-45% เท่านั้น
ดาวพุธมีสภาพพื้นผิวขรุขระเนื่องจากการพุ่งชนของอุกกาบาต ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวารและไม่มีแรงโน้มถ่วงมากพอที่จะสร้างชั้นบรรยากาศ ดาวพุธมีแกนกลางเป็นเหล็กขนาดใหญ่ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กความเข้มประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ของสนามแม่เหล็กโลกล้อมรอบดาวพุธไว้
ชื่อ
ละติน ของดาวพุธ (Mercury) มาจากคำเต็มว่า Mercurius เทพนำสารของพระเจ้า สัญลักษณ์แทนดาวพุธ คือ
☿ เป็นรูปคทาของเทพเจ้าเมอคิวรี ก่อนศตวรรษที่ 5 ดาวพุธมีสองชื่อ คือ
เฮอร์เมส เมื่อปรากฏในเวลาหัวค่ำ และ
อพอลโล เมื่อปรากฏในเวลาเช้ามืด เชื่อว่า
พีทาโกรัส เป็นคนแรกที่ระบุว่าทั้งสองเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวกัน
ดาวศุกร์ ( อังกฤษ : Venus ) เป็น ดาวเคราะห์ ที่อยู่ห่างจาก ดวงอาทิตย์ เป็นลำดับที่ 2 ชื่อ ละติน ของดาวศุกร์ (Venus) มาจากเทพีแห่งความรักของ โรมัน ดาวศุกร์เป็น ดาวเคราะห์หิน มีขนาดใกล้เคียงกับ โลก บางครั้งเรียกว่า "น้องสาว" ของโลก แม้ว่าวงโคจรของดาวเคราะห์ทุกดวงจะเป็น วงรี วงโคจรของดาวศุกร์จัดว่าเกือบเป็น วงกลม มีความเยื้องศูนย์กลาง (ความรี) น้อยที่สุด
สำหรับวัตถุในธรรมชาติ ดาวศุกร์เป็น
วัตถุท้องฟ้า ที่สว่างที่สุดเป็นลำดับที่ 3 รองจาก
ดวงอาทิตย์ และ
ดวงจันทร์ เนื่องจากดาวศุกร์มีวงโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่า
โลก จึงมี
มุมห่าง จากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 47.8° มองเห็นได้เฉพาะในเวลาเช้ามืดหรือหัวค่ำเท่านั้น ขณะปรากฏในท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก เรียกว่า "
ดาวประจำเมือง " และเมื่อปรากฏในท้องฟ้าเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออก เรียกว่า "
ดาวประกายพรึก " หรือ "ดาวรุ่ง"
โลก มีลักษณะเป็นทรงวงรี โดย ในแนวดิ่งเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 12,711 กม. ในแนวนอน ยาว 12,755 กม. ต่างกัน 44 กม. มีพื้นน้ำ 3 ส่วน หรือ 71% และมีพื้นดิน 1 ส่วน หรือ 29 % แกนโลกเอียงประมาณ 23.4 องศา
สัญลักษณ์ของโลกประกอบด้วยกากบาทที่ล้อมด้วยวงกลม โดยเส้นตั้งและเส้นนอนของกากบาทจะแทน
เส้นเมอริเดียน และ
เส้นศูนย์สูตร ตามลำดับ สัญลักษณ์อีกแบบของโลกจะวางกากบาทไว้เหนือวงกลมแทน (
ยูนิโคด : ⊕ หรือ
♁ )
ดาวอังคาร เป็น ดาวเคราะห์ ใน ระบบสุริยะ ที่อยู่ห่างจาก ดวงอาทิตย์ เป็นลำดับที่ 4 ชื่อ ละติน ของดาวอังคาร (Mars) มาจากชื่อเทพเจ้าแห่งสงครามของ โรมัน หรือตรงกับเทพเจ้า Ares ของ กรีก เป็นเพราะดาวอังคารปรากฏเป็นสีแดงคล้ายสีโลหิต บางครั้งจึงเรียกว่า "ดาวแดง" หรือ "Red Planet" ( สัญลักษณ์แทนดาวอังคาร คือ ♂ เป็นโล่และหอกของเทพเจ้ามาร์ส ดาวอังคารมี ดาวบริวาร หรือดวงจันทร์ขนาดเล็ก 2 ดวง คือ โฟบอส และ ไดมอส โดยทั้งสองดวงมีรูปร่างบิดเบี้ยวไม่เป็นรูปกลม ซึ่งคาดกันว่าอาจเป็น ดาวเคราะห์น้อย ที่หลงเข้ามาแล้วดาวอังคารคว้าดึงเอาไว้ให้อยู่ในเขตแรงดึงดูดของตน
ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หิน (terrestrial planet) มีชั้นบรรยากาศ เบาบาง พื้นผิวมีลักษณะคล้ายคลึงทั้งหลุมอุกกาบาต บนดวงจันทร์ และภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย และบริเวณน้ำแข็งขั้วโลก บนโลก ดาวอังคารมีภูเขา ที่สูงที่สุดในระบบสุริยะคือ ภูเขาไฟโอลิมปัส (Olympus Mons) และหุบเขาลึกที่มีชื่อว่า มาริเนริส (Marineris) ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2008 มีบทความ 3 บทความตีพิมพ์ลงในนิตรสาร "Nature" เกี่ยวกับหลักฐานของหลุมอุกกาบาตที่ใหญ่มหึมา โดยมีความกว้าง 8,500 กิโลเมตร ยาว 10,600 กิโลเมตร นอกจากนั้นสิ่งที่ดาวอังคารมีและคล้ายคลึงกับโลกก็คือ คาบการหมุนรอบตัวเอง และฤดูกาล
ดาวพฤหัสบดี เป็น ดาวเคราะห์ ที่อยู่ห่างจาก ดวงอาทิตย์ เป็นลำดับที่ 5 และเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดใน ระบบสุริยะ ชื่อ ละติน ของดาวพฤหัสบดี (Jupiter) มาจากเทพเจ้า โรมัน สัญลักษณ์แทนดาวพฤหัสบดี คือ ♃ เป็นสายฟ้าของเทพเจ้าซุส
ดาวพฤหัสบดีมี
มวล สูงกว่ามวลของดาวเคราะห์อื่นรวมกันราว 2.5 เท่า ทำให้
ศูนย์ระบบมวล ระหว่างดาวพฤหัสบดีกับดวงอาทิตย์ อยู่เหนือผิวดวงอาทิตย์ ดาวพฤหัสบดีหนักว่า
โลก 318 เท่า
เส้นผ่านศูนย์กลาง ยาวกว่าโลก 11 เท่า และมี
ปริมาตร คิดเป็น 1,300 เท่าของโลก เชื่อกันว่าหากดาวพฤหัสบดีมีมวลมากกว่านี้สัก 60-70 เท่า อาจเพียงพอที่จะให้เกิด
ปฏิกิริยานิวเคลียร์ จนกลายเป็น
ดาวฤกษ์ ได้
ดาวพฤหัสบดีหมุนรอบตัวเองด้วยอัตราเร็วสูงที่สุด เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์ดวงอื่นในระบบสุริยะ ทำให้มีรูปร่างแป้นเมื่อดูผ่านกล้องโทรทรรศน์ นอกจากชั้นเมฆที่ห่อหุ้มดาวพฤหัสบดี ร่องรอยที่เด่นชัดที่สุดบนดาวพฤหัสบดี คือ
จุดแดงใหญ่ ซึ่งเป็น
พายุ หมุนที่มีขนาดใหญ่กว่าโลก
ดาวเสาร์ ( อังกฤษ : Saturn ) เป็นตัวแทนของเทพแซทเทิร์น (Saturn) เทพแห่งการเพาะปลูกในตำนานของชาว โรมัน ส่วนในตำนานกรีกมีชื่อว่า โครนอส (Cronos) โดยดาวเสาร์เป็น ดาวเคราะห์ ที่อยู่ห่างจาก ดวงอาทิตย์ เป็นลำดับที่ 6 ที่ระยะทาง 1,433 ล้านกิโลเมตร จัดเป็นดาวเคราะห์แก๊ส มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองใน ระบบสุริยะ รองจาก ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์มีวงแหวนขนาดใหญ่ ที่ประกอบขึ้นจากก้อนหินที่มีน้ำแข็งปะปน สัญลักษณ์แทนดาวเสาร์ คือ ♄
ดาวเสาร์มีรูปร่างป่องออก ที่เรียกว่าทรงกลมแป้น (oblate spheroid) เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวขั้วสั้นกว่าตามแนวเส้นศูนย์สูตรเกือบ 10% เป็นผลจากการหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็ว ดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ก็มีลักษณะเป็นทรงกลมแป้นเช่นกัน แต่ไม่มากเท่าดาวเสาร์ ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะ ที่มีความหนาแน่นเฉลี่ยน้อยกว่าน้ำ (0.70 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร) บรรยากาศชั้นบนของดาวเสาร์มีความหนาแน่นน้อยกว่านี้ ขณะที่ที่แกนมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ วงแหวนของดาวเสาร์ประกอบไปด้วย เศษหินและน้ำแข็งขนาดเล็ก เรียงตัวอยู่ในระนาบเดียวกัน และวงแหวนของดาวเสาร์ก็ประกอบไปด้วย วงแหวนย่อยๆมากมาย ความจริงแล้ววงแหวนดาวเสาร์นั้นบางมาก โดยมีความหนาเฉลี่ยเพียง 500 กิโลเมตรเท่านั้น แต่เศษวัตถุในวงแหวนมีความสามารถในการสะท้อนแสงดี และกว้างกว่า 80,000 กิโลเมตร จึงสามารถสังเกตได้จากโลก
ดาวยูเรนัส (หรือ มฤตยู ) เป็น ดาวเคราะห์ ที่อยู่ห่างจาก ดวงอาทิตย์ เป็นลำดับที่ 7 ใน ระบบสุริยะ จัดเป็น ดาวเคราะห์แก๊ส มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3. ตั้งชื่อตามเทพเจ้า Ouranos ของ กรีก สัญลักษณ์แทนดาวยูเรนัส คือ หรือ (ส่วนใหญ่ใช้ในดาราศาสตร์) ชื่อไทยของยูเรนัส คือ ดาวมฤตยู
ผู้ค้นพบดาวยูเรนัส คือ เซอร์
วิลเลียม เฮอร์เชล (Sir William Herschel) พบในปี พ.ศ. 2324 (ค.ศ. 1781)
ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) นักดาราศาสตร์จากหอดูดาวไคเปอร์แอร์บอร์น (James L. Elliot, Edward W. Dunham, and Douglas J. Mink using the Kuiper Airborne Observatory) ค้นพบว่า ดาวยูเรนัสมี
วงแหวน จางๆโดยรอบ
และเราก็ได้เห็นรายละเอียด ของดาวยูเรนัสพร้อมทั้งวงแหวน และดวงจันทร์บริวารในปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) เมื่อ
ยานวอยเอเจอร์ 2 (Voyager 2) เคลื่อนผ่าน
ดาวเนปจูน ( อังกฤษ : Neptune ) หรือชื่อไทยว่า ดาวสมุทร หรือ ดาวเกตุ คือ ดาวเคราะห์ ใน ระบบสุริยะ ลำดับสุดท้ายที่อยู่ห่างจาก ดวงอาทิตย์ (ขึ้นอยู่กับการโคจรของ ดาวพลูโต ซึ่งบางครั้งจะเข้ามาอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่า แต่ปัจจุบันดาวพลูโตเป็น ดาวเคราะห์แคระ แล้ว) ตัวดาวมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่เป็นอันดับที่ 4 รองจากดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และมีมวลเป็นลำดับที่ 3 รองจากดาวพฤหัสและดาวเสาร์ คำว่า "เนปจูน" นั้นตั้งชื่อตามเทพเจ้าแห่งท้องทะเลของ โรมัน (กรีก : โ พไซดอน ) มีสัญลักษณ์เป็น (♆)
ดาวเนปจูนมีสีน้ำเงิน เนื่องจากองค์ประกอบหลักของบรรยากาศผิวนอกเป็น
ไฮโดรเจน ฮีเลียม และ
มีเทน บรรยากาศของดาวเนปจูน มีกระแสลมที่รุนแรง (2500 กม/ชม.) อุณหภูมิพื้นผิวอยู่ที่ประมาณ -220℃ (-364 °F) ซึ่งหนาวเย็นมาก เนื่องจาก ดาวเนปจูนอยู่ไกลดวงอาทิตย์มาก แต่แกนกลางภายในของดาวเนปจูน ประกอบด้วยหินและก๊าซร้อน อุณหภูมิประมาณ 7,000℃ (12,632 °F) ซึ่งร้อนกว่าพื้นผิวของ
ดวงอาทิตย์ เสียอีก
ยานวอยเอเจอร์ 2 เป็นยานอวกาศจากโลกเพียงลำเดียวเท่านั้น ที่เคยเดินทางไปถึงดาวเนปจูนเมื่อ
25 สิงหาคม พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) ภาพของดาวเนปจูนซึ่งได้ถ่ายลักษณะของดาวมาแสดงให้เราเห็นจุดดำใหญ่ (คล้ายจุดแดงใหญ่ ของดาวพฤหัส) อยู่ค่อนมาทางซีกใต้ของดาว มีวงแหวนบางๆสีเข้มอยู่โดยรอบ (วงแหวนของดาวเนปจูน ค้นพบก่อนหน้านั้น โดย
เอ็ดเวิร์ด กิแนน (Edward Guinan)
ดาวเนปจูนมีดวงจันทร์บริวาร 8 หรือ 14 ดวง และดวงใหญ่มากที่สุดมีชื่อว่า
ไทรทัน ส่วนดวงเล็กมากที่สุดมีชื่อว่า S/2004 N 1
วันนี้ความรู้แน่นอีกแล้ว ถ้าอ่านจบแล้ว เราไปดูวิดิโอกันดีกว่าเนอะ ^^
VIDEO
วิดิโอสนุกและได้ความรู้มากเลยใช่ไหมล่ะคะ พรุ่งนี้จะมาลงความรู้เรื่องอะไรมาลุ้นกันดีกว่าเนอะ
สำหรับคนที่ยังไม่รู้นะคะ ขอแจ้งสักหน่อย คือ บล็อกนี้นะคะ ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวของกาแล็กซี่ และก็ได้นำความรู้มาลงเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นสามารถรับชมได้จากด้านข้างจะเห็นว่ามีหัวข้อต่างๆให้เลือกอ่านได้ ลองอ่านกันดูเยอะๆนะคะ ความรู้มีไม่สิ้นสุดอยู่แล้ว ^^
#SECRET OF GALAXY